top of page

KORPHAI

วงดนตรีกอไผ่

วงกอไผ่ วิศิษฎร์ศิลปิน

          วงกอไผ่ เป็นวงดนตรีไทยร่วมสมัยที่มีอายุยาวนานกว่า 3 ทศวรรษ เริ่มต้นโดยอานันท์ นาคคง ได้รวบรวมเพื่อนๆนักเรียนต่าง

สถาบันการศึกษาที่เป็นนักดนตรีสมัครเล่นมากความสามารถมาร่วมงาน ตั้งแต่ครั้งวาระครบรอบ 100 ปีเกิดของท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะ  (ศร ศิลปบรรเลง) ใน พ.ศ. 2524 และได้ใช้ชื่อวงดนตรี "กอไผ่" ในการขึ้นเวทีเป็นครั้งแรก ณ ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2526

          นักดนตรียุคก่อตั้ง อาทิ อานันท์ นาคคง, สหรัฐ จันทร์เฉลิม, ประสาร วงศ์วิโรจน์รักษ์, อภิชัย เลี่ยมทอง, ปิยะนุช นาคคง,

วโรดม อิ่มสกุล เป็นต้น และในปลายปีพ.ศ. 2526 วงดนตรีกอไผ่ได้เข้าร่วมประกวดการแข่งขันดนตรีไทยเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ

จัดโดยมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) และสหพันธ์ประสานงานเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ ณ โรงละครแห่งชาติ  โดยวงดนตรีกอไผ่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ทั้งประเภทรวมวงและ นักร้องนักดนตรีทุกเครื่องมือ นับแต่นั้นเป็นต้นมาชื่อเสียงของ วงดนตรีกอไผ่ ก็เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ต่อมาวงดนตรีกอไผ่มีสมาชิกทั้งนักดนตรีไทยและนักดนตรีสากลเพิ่มเติมขึ้นอย่างมาก วงดนตรีกอไผ่มีการหมุนเวียนเปลี่ยนรูปแบบการทำงานไปเรื่อยๆ และดำรงตนในฐานะวงดนตรีสมัครเล่นมาตลอด จนกระทั่งปัจจุบัน มีนักดนตรีหลักๆประมาณ 15 คน

          วงดนตรีกอไผ่สนใจการสร้างสรรค์ผลงานทั้งทางด้านดนตรีและกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม โดยได้ร่วมมือกับหลายองค์กรใน

การทำงานอาสาสมัคร โดยเฉพาะมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ซึ่งมีความผูกพันกันอย่างยิ่ง ร่วมทำงานผลิตอัลบั้มเพลงไทยเดิมมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2534 และยังคงได้รับความนิยมจากนักฟังเพลงอยู่เสมอจวบจนปัจจุบัน ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี วงดนตรี

กอไผ่ได้ออกอัลบั้มมาหลายชุด อีกทั้งยังจัดการแสดงคอนเสิร์ตมากมายทั้งในไทยและต่างประเทศ รวมถึงจัดการบรรยายประกอบการสาธิต จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการทางด้านดนตรีไทยให้แก่ผู้ที่สนใจ และเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้มีงานประกวดดนตรีไทยระดับชาติหลายครั้ง

          วงดนตรีกอไผ่นำเสนอแนวดนตรีที่มีความหลากหลาย แม้เริ่มต้นจากดนตรีไทยในลักษณะประเพณีแบบแผน แต่ก็พัฒนาไปยัง

ดนตรีแนวร่วมสมัย ดนตรีโฟลค์-ป็อป, ดนตรีสมัยนิยม, ฟิวชั่นแจ๊ส, เอเชี่ยนมิกซ์ และดนตรีทดลอง วงดนตรีกอไผ่มีโอกาสร่วมสร้างสรรค์ดนตรีให้กับทั้งภาพยนตร์ไทย สารคดี กิจกรรมการแสดง ละครเวที นาฏศิลป์ทดลอง และพรีเซ็นเทชั่นตามงานเทศกาลต่างๆ โดยเฉพาะการทำดนตรีให้กับภาพยนตร์เรื่อง"โหมโรง" ซึ่งเป็นภาพยนตร์ไทยที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เป็นภาพยนตร์ที่ได้รับ

คำชมจาก นักวิจารณ์ในระดับชาติและนานาชาติ และยังได้รับรางวัลมากมาย อาทิ รางวัลดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เป็นต้น นอกจากนี้วงดนตรีกอไผ่ยังได้รับโอกาสทำดนตรีให้กับภาพยนตร์อื่นๆ อาทิเช่น สุริโยไท เปิงมาง กลองผีหนังมนุษย์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวร มหาราช และละครโทรทัศน์เรื่องโหมโรงของไทยพีบีเอสในปีพ.ศ. 2554

          สำหรับกรณีของวงดนตรีไทยร่วมสมัย ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งในการทำงานดนตรีของวงกอไผ่ มีสมาชิกหลากหลาย ทั้งร่วมงานกันประจำและรับเชิญมาเป็นครั้งคราว ปัจจุบันประกอบด้วย อานันท์ นาคคง (หัวหน้าวง โฆษก, เครื่องจังหวะ, แซมปลิ้ง), ชัยภัค ภัทรจินดา (เรียบเรียงเสียงประสาน, ควบคุมการฝึกซ้อม, กีตาร์, ซอ), อัษฎาวุธ สาคริก (ควบคุมการฝึกซ้อม, ระนาด, ขิม), ประสาร วงษ์วิโรจน์รักษ์ (แอคคอเดียน, ไวบราโฟน, แซมปลิ้ง),  เลอเกียรติ มหาวินิจฉัยมนตรี (ซอด้วง-ซออู้), บรรหาร ปาโล (เครื่องหนัง), ทวีศักดิ์ อัครวงษ์ (ระนาดเอก, เครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน), ธัญนภัทร์ มังกรหิรัญสิริ (ระนาดทุ้ม), ทศพร ทัศนะ (กลองชุด, ระนาด, งานเทคนิคทุกอย่างของวง), อัครพล อภิโช (เบส), อมร พุทธานุ (คีย์บอร์ด), พรชัย ตรีเนตร (เครื่องเป่า-เพอร์คัสชั่น), เกรียงไกร วรีวัฒน์ (เครื่องหนัง), กฤษณ์ เลกะกุล (แซกโซโฟน-ปี่), นพพร เพริศแพร้ว (ขับร้อง), กนกพร ทัศนะ (ขับร้อง), ธนกฤต อกนิษฐธาดา (ขับร้อง), บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ (ประพันธ์เพลง, เรียบเรียงเสียงประสาน) สมาชิกในอดีต เช่น อภิชัย เลี่ยมทอง (ระนาดเอก), ร้อยเอกสมนึก แสงอรุณ (เครื่องเป่า), สุกฤษฎิ์ชนม์ พงษ์พรหม (ระนาดเอก), นัฐวิภา มูลธรรมเกณฑ์ (ขับร้อง), นิรันดร์ แจ่มอรุณ (ระนาดทุ้ม), นวราช อภัยวงศ์ (ซอ), ปิยะนุช นาคคง (ขับร้อง), สำหรับเทคนิคด้านเสียง มีซาวนด์เอนจิเนียร์ที่ร่วมงานกันเป็นประจำคือ ชัยพร จิตจิตรโกศล, วัชรินทร เฟื่องชูนุช, ศุภฤกษ์ รื่นอุดม

 

รางวัล

  • ปี 2526 National Music Contest, the national theatre

  • ปี 2547 “โหมโรง” Best Film Music and Score, Hamburger Award

  • ปี 2548 “โหมโรง” Best Film Music and Score, Thailand Critics Association

  • ปี 2548 “โหมโรง” Best Film Music, Thailand Media Association
     

ALBUM
ปีพ.ศ. 2534

ราตรีประดับดาว (เครื่องสายไทย) ผลิตโดย HandAcme Supply

ปีพ.ศ. 2535

ขอมดําดิน (ดนตรีทดลองและเครื่องสายประสม) ผลิตโดย HandAcme Supply

ปีพ.ศ. 2542

ช้างกินใบไผ่ (ปี่พาทย์ไม้นวม) ผลิตโดย HandAcme Supply

ปีพ.ศ. 2543

แขกขาว (เครื่องสายประสมออร์แกน) ผลิตโดย HandAcme Supply

ปีพ.ศ. 2544

ครวญหา (มโหรี) ผลิตโดย HandAcme Supply

ปีพ.ศ.2544

เพลงครูคู่สมัย (ดนตรีร่วมสมัย) ผลิตโดย HandAcme Supply

ปีพ.ศ.2545

เทพบรรทม (เครื่องสายแบบต่างๆ) ผลิตโดย HandAcme Supply

ปีพ.ศ. 2545

เสี้ยวหนึ่งของครูบรรเลง (บทเพลงสําหรับวิทยุโรงเรียน) ผลิตโดย HandAcme Supply

ปีพ.ศ. 2546

ภิรมย์สุรางค์ (เครื่องสายแบบต่างๆ) ผลิตโดย HandAcme Supply

ปีพ.ศ. 2547

เพลงประกอบภาพยนตร์โหมโรง (The Overture, Movie Soundtrack) ผลิตโดย Gimmick

ปีพ.ศ. 2547

โหมรักโหมโรง 1 (ปี่พาทย์แบบต่างๆ) ผลิตโดย HandAcme Supply

ปีพ.ศ. 2547

โหมรักโหมโรง 2 (ปี่พาทย์แบบต่างๆ) ผลิตโดย HandAcme Supply

ปีพ.ศ. 2547

หลวงประดิษฐไพเราะ มหาดุริยกวีลุ่มเจ้าพระยาแห่งอุษาคเนย์ (ปี่พาทย์ไม้นวม) ผลิตโดยมติชน

ปีพ.ศ. 2548

โหมโรง นาฏยศาลาหุ่นละครเล็ก (ปี่พาทย์และดนตรีร่วมสมัย) ผลิตโดย นาฏยศาลาหุ่นละครเล็ก

ปีพ.ศ. 2549

เพลงชนก (เครื่องสายไทย) ผลิตโดย HandAcme Supply

ปีพ.ศ. 2549

ไผ่กอนี้มีเสียงเพลง บันทึกการแสดงสด จุดประกายคอนเสิร์ต (ดนตรีร่วมสมัย) ผลิตโดยบริษัทเฮีย

ปีพ.ศ. 2553

สะพานไม้ไผ่ bamboo bridge ผลิตโดย Ocean Media

ปีพ.ศ. 2555

โหมโรง มิวสิควิดีโอและเพลงประกอบละครเรื่องโหมโรง ผลิตโดย Thai PBS

ปีพ.ศ. 2557

บทเพลงผลงานหลวงประดิษฐไพเราะ (ปี่พาทย์ไม้นวม) ผลิตโดย HandAcme Supply

ปีพ.ศ. 2558

Persian Persiam บทเพลงไทยสำเนียงเปอร์เซีย ผลิตโดย OnArt เพื่อฉลองวาระ 60 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและอิหร่าน

ปีพ.ศ. 2559

Cinta Asean เสน่หาอาเซียน Thai Contemporary Music ผลิตโดย Ocean Media

KORPHAI

Korphai, literally means “a bunch of bamboo”, is a new generation of Thai musicians who have continued together on their musical journey since their high-school days until now. The story began in 1980 when Anant Narkkong, the present musical director of the ensemble, gathered members of his family and friends and established a circle of young amateur musicians. The group became more widely known in 1983 when it won a prestigious national music contest. Ever since, the name Korphai has remained famous amongst various groups of Thai music lovers. 

Korphai has diversity musical characteristics; the group fantastically widens their works from traditional based into other cross-over areas such as folk-pop, popular, fusion jazz, Asian-mix, and experimental music. The ensemble is also unique in that many of its multi-talented members are musicians by interest, rather than by profession. Yet its professionalism is unquestionable and the group's image as a new hope of Thai music remains unchallenged.

The group is internationally renowned for its excellent rendition of Thai Classical Music as well as Contemporary Music explorations. Throughout the past 30 years, Korphai has been released a number of CD albums and performed in numerous public concerts in Thailand and overseas for example; Malaysia, Austria, England, Scotland, USA, South Korea, Taiwan, France, China, and Cambodia. Many of concerts especially in Thailand obtained highly admirations by audiences and critics. In addition; Korphai gives lecture-demonstrations and workshops in Thai music for educational and cultural-appreciation purposes.

Korphai has extensively involved in making background music for Thai films, documentaries, theatre events, plays, experimental dances and festival presentations. One of their most successful works was original music for a hugely booming Thai film “Homrong (the Overture)”, inspired by the life of the greatest Thai xylophonist and foremost composer of 19th century Luang Pradithphairoh. The film was launched in February 2004 and received highly acclaimed by international critics as well as numerous motion picture awards including best film music. Other films include “Suriyothai” (2000), “Perngmang the Haunted drum” (2007), “King Naresuan” (2008) and just recently the reproduction of Homrong in national television drama series (2012) with one more time successful national welcome.

รายการ ดนตรี กวี ศิลป์ : วงกอไผ่ (4 ต.ค. 58)

bottom of page