top of page

Theatre Works

ปีพ.ศ. 2530 แล้ง ชนบทหมายเลข 4 ละครเวทีสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของชนชั้นชาวนาและชนกรรมาชีพ แสดงโดย ชุมนุมศิลปการละครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำกับโดยนิมิตร พิพิธกุล แสดงที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เป็นตอนต่อจากละครชุมชนบทหมายเลข 1-3 เดิมกำกับโดยคำรณ คณะดิลก ดนตรีโดยบรูซ แกสตัน) อานันท์รับหน้าที่ในการประพันธ์เพลง

 

ปีพ.ศ. 2533 N-I-Cs ละครเวทีสะท้อนปัญหาการพัฒนาประเทศไทยด้วยระบบอุตสาหกรรมใหม่ คณะละครมะขามป้อม กำกับการแสดงโดยประดิษฐ ปราสาททอง แสดงที่ประเทศฮ่องกง อานันท์ นาคคงประพันธ์เพลงร่วมกับชัยภัค ภัทรจินดา

 

ปีพ.ศ. 2536 ละครเพลงกวีนายผี "เราชนะแล้วแม่จ๋า" ละครเพลงร่วมสมัย รวมงานวรรณกรรมทางการเมืองของนายผี เนื่องในวาระครบรอบ 72 ปี อัศนี พลจันทร์แสดงโดย กลุ่มตาน้ำ กำกับโดยนิมิตร พิพิธกุล แสดงที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อานันท์นาคคงประพันธ์เพลงร่วมกับชัยภัค ภัทรจินดา

ปีพ.ศ. 2538

- สวรรค์มันน่าขึ้น นาฎศิลป์ร่วมสมัย แนวคิดต่อต้านสตรีนิยมในตำนานวิทยาธรและนารีผล แสดงโดยคณะละครมะขามป้อมกำกับการแสดงโดยประดิษฐ ประสาททอง แสดงเมื่อเทศกาลละครแสงอรุณครั้งที่ 1 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแสงอรุณ อานันท์ นาคคงประพันธ์เพลงและเรียบเรียงดนตรี

- อโนดาต นาฎศิลป์ร่วมสมัยนางมโนราห์ที่ถูกโลกวัตถุนิยมกักขัง แสดงโดยคณะละครมะขามป้อม กำกับการแสดงโดยปองจิต สรรพคุณ แสดงเมื่อเทศกาลละครแสงอรุณครั้งที่ 1 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแสงอรุณ และ เทศกาลละครประชาชน ณ ประเทศออสเตรเลีย โดยอานันท์ นาคคงเป็นผู้ประพันธ์เพลงและเรียบเรียงดนตรี

- The Dream Weaver โครงการละครสะท้อนเอเชีย Cry of Asia ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ผสมผสานศิลปะการเล่านิทาน-ละครเวที-นาฏศิลป์พื้นบ้าน รวมนักแสดงโดย Ai Santos (the Philippines Peoples Theatre) ตระเวนแสดงที่จังหวัดนครราชสีมา-สุพรรณบุรี-กาญจนบุรีและกรุงเทพมหานคร อานันท์ นาคคงทำหน้าที่ประพันธ์เพลง

ปีพ.ศ. 2539

- อัศจรรย์ ละครเวทีร่วมสมัย ความขัดแย้งทางอำนาจไสยศาสตร์และการเมืองท้องถิ่น ชนะเลิศรางวัลสดใสอวอร์ด ครั้งที่ 1 กำกับการแสดงโดยสนธยา สุชาฎา แสดงที่โรงละครกรุงเทพ อานันท์ นาคคงประพันธ์เพลง

- พิมพิลาไลย ละครเวทีร่วมสมัย โครงการการสีสันวรรณกรรม ภาควิชาศิลปการละคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำกับการแสดงโดย อ.ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์ แสดงที่หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย อานันท์ นาคคงเรียบเรียงดนตรี

- ควายไม่กินหญ้า ละครสื่อผสม ความฝันและการเดินทางของควาย แสดงโดยเยาวชนกลุ่มเด็กรักป่า จ.สุรินทร์ กำกับการแสดงโดย อ.รัศมี เผ่าเหลืองทองและเข็มทอง โมราษฎร์ อานันท์ นาคคง ประพันธ์เพลง ละครเด็กเรื่องนี้ได้ตระเวนแสดงทั่วประเทศไทย สนับสนุนโดยศูนย์ศิลปะแสงอรุณ บันทึกเสียงใหม่โดยกลุ่มคนหน้าดำ พ.ศ. 2548 และยังคงสัญจรแสดงอยู่จนทุกวันนี้ในฐานะละครชุมชน

- 2539-41มาลัยมงคล ดัดแปลงจากการสวดคฤหัสในงานศพเป็นละครสะท้อนปัญหาเซ็กส์วัยรุ่นกับโรคเอดส์ แสดงโดยคณะละครมะขามป้อม กำกับการแสดงโดยประดิษฐ์ ปราสาททอง ตระเวนแสดงทั่วประเทศและออสเตรเลีย เกาหลี และฮ่องกง สนับสนุนโดยโครงการ Aus-aids อานันท์ นาคคง ประพันธ์เพลงและเรียบเรียงดนตรี

- ลิเกมะขามป้อม งานชุมนุมชาวนาร้องทุกข์ สมัชชาคนจน ตีระนาดเอกลิเกในม็อบชาวนา

ปีพ.ศ.​ 2540

- พระอภัยมณี การตีความวรรณกรรมพระอภัยมณี แนว deconstruction กำกับการแสดงโดย ศ.ดร.มัทนี รัตนิน พ.ศ. 2540 แสดงที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย อานันท์ นาคคง เรียบเรียงดนตรี

- น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา In Floods, Fish ear Ant: After Floods, Ants ear FishIn Floods, Fish eat Ant: After Floods, Ants eat Fish ตีความสุภาษิตโบราณผ่านสื่อผสมละคร-โขน-หนังใหญ่-ละครเด็ก-นาฎศิลป์ แสดงในงานประชุมปัญหาความมั่นคงและความรุนแรงของชนกลุ่มน้อยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แสดงโดยคณะละครมะขามป้อม-นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ-วงกอไผ่ กำกับการแสดงโดยอานันท์ นาคคง แสดงที่หอประชุม YMCA สันบสนุนโดยโครงการ Global-South

 

ปีพ.ศ. 2542 - 2543

- คือผู้อภิวัฒน์ 2547 The Revolutionist ละครเวที วาระ 100 ปี ชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์ แสดงโดยพระจันทร์เสี้ยวการละคร กํากับโดย คํารณ คุณะดิลกและนิมิตร พิพิธกุล แสดงที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงละครเขต 4 กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

งานประชุมไทยศึกษา กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ โรงละครสต็อคโฮล์ม ประเทศสวีเดน โรงละครลอสแองจีลีสซานฟรานซิสโก-นิวยอร์ค-ชิคาโก สหรัฐอเมริกา สนับสนุนโดยมูลนิธิโกมลคีมทองและมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะ ประทีป อานันท์ นาคคง รับหน้าที่ในการประพันธ์เพลงและเรียบเรียงดนตรี

- H2O นาฏศิลป์ร่วมสมัยแสดงถึงสภาวะของน้ำแสดงในงาน Fringe fetsival ครั้งที่ 1 ณ ภัทราวดีเธียร์เตอร์ กํากับการ แสดงโดย Mohamad Sulfuki อานันท์ นาคคงประพันธ์เพลง

- Curious Fish นาฏศิลป์ร่วมสมัยบูโต จัดแสดง ณ เทศกาลศิลปะหลังความตาย the Berlin Ghost Festival แสดงโดย นักแสดงจากประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น กํากับการแสดงโดย Katsura Kan แสดงที่สถาบันศิลปะแห่งกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน อานันท์ นาคคง ร่วมประพันธ์เพลงกับ Korey Deguchi

- ภควัทคีตา เรื่องเล่าการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงสังคมของคนหนุ่ม ผสมผสานการเต้นบูโต-ภารตนาฏยัม-ฟ้อนล้านนา เนื่องในวาระ 100 ปีชาตกาลนายปรีดี พนมยงค์ แสดง ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กํากับการแสดงโดย Katsura Kan อานันท์ นาคคงได้ร่วมประพันธ์เพลงและเรียบเรียงดนตรีกับ Srinivas Rao

- The Death of Enpedoche โศกนาฏกรรมนิยายกรีก ศิลปะสื่อผสม นาฏศิลป์ร่วมสมัยบูโต-ละครเวที monologue แสดง ณ ภัทราวดี เธียร์เตอร์ กํากับการแสดงโดย Katsura Kan สนับสนุนโดยสถาบันวัฒนธรรมฝรั่งเศสประจําประเทศไทย อานันท์ประพันธ์เพลงร่วมกับสินนภา-  สารสาส

- OCT6102519 สอบถามยอดค้างชำระ ละครเวที วาระ 24 ปี วันที่ 6 ตุลาคม แสดงโดยคณะพระจันทร์เสี้ยว กํากับการแสดงโดยนิมิตร พิพิธกุล แสดงที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อานันท์ นาคคงรับหน้าที่ประพันธ์เพลง

 

ปีพ.ศ. 2543 สุดสาคร การผจญภัยของสุดสาคร ละครหุ่นร่วมสมัย นักแสดงจากภัทราวดีเธียร์เตอร์ร่วมกับคณะหุ่นโจหลุยส์ กํากับการแสดงโดย

ภัทรวดี มีชูธน แสดงที่หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยประพันธ์ อานันท์ นาคคงทำเพลงและเรียบเรียงดนตรี

ปีพ.ศ. 2544

- เมืองนิมิตร ละครเพลงจากนวนิยายการเมืองสมัยสงครามโลกครั้งที่สองของ ม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน์ แสดงโดย คณะละครพระจันทร์เสี้ยวและสวนพลูคอรัส กำกับการแสดงโดยนิมิตร พิพิธกุล แสดงที่สถาบันปรีดี พนมยงค์  อานันท์ นาคคง ร่วมประพันธ์เพลงกับนพ ประทีปะเสน และเกษมสันต์ พรหมสุภา

- มิดะ จากแรงบันดาลใจของเพลง “มิดะ" ละครแนว Physical Theatre แสดงโดยคณะบีฟลอร์ กํากับการแสดง โดยธีรวัฒน์ มุลวิไล แสดงที่โรงละครมรดกใหม่ ตึกช้าง อานันท์ นาคคงรับหน้าที่ออกแบบเสียง (Sound Design)

 

ปีพ.ศ. 2548 พระลอ นาฏลีลาแนวทดลอง วรรณกรรมคําอ่านจากบทลิลิตพระลอฉบับโบราณ ซาวนด์ดีไซน์ แสดงโดยนักแสดงจากพระแม่ฟาติมา, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กํากับการแสดงโดย รศ.ดร.นราพงศ์ จรัสศรี แสดงที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยและเมืองทองธานี อานันท์ นาคคงออกแบบเสียง (Sound Design)

 

ปีพ.ศ. 2551

- Bangkok Bribe นําข้อมูลเสียงและภาพเคลื่อนไหวย่านสี่แยกราชประสงค์และเทวสถานพระพรหมเอราวัณ ตีความเป็น งาน Sound Installation และ ภาพยนตร์สั้นแนวทดลอง “สินบนกรุงเทพ” Bangkok Bribe ร่วมนิทรรศการศิลปะ ร่วมสมัย “กรุงเทพ 226” จัดแสดง ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 และ นิทรรศการ “ภาพ/เสียง/พื้นที่ กับวิถีแห่งการรับรู้ตัวตนในสังคม” ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร มีนาคม พ.ศ. 2552 อานันท์ นาคคงทำหน้าที่ออกแบบเสียงและผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์

- มังกร พญานาค ละครเพลงจากนิทานสําหรับเด็กเรื่องมังกรน้ำเต้าหูกับพญานาคซาละเปา ต้นฉบับของไส้เดือนดิน แสดงโดยเครือข่ายเยาวชนติดเชื้อเอชไอวีทั่วประเทศ กลุ่มเราเข้าใจ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการของศูนย์ศิลปะการละครเพื่อการพัฒนา สถาบันคลังสมองของชาติ ร่วมกับคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร แสดงในวาระเปิดงานเทียนส่องใจเนื่องในวันเอดส์โลก วันที่ 1 ธันวาคม ปีพ.ศ. 2551 ณ สภากาชาดไทย กํากับการแสดงโดย อ.พนิดา ฐาปนางกูร สนับสนุนโดยโครงการดนตรีสร้างสุข สํานักงานกองทุนสับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย Australian Federation of AIDs Organisations อานันท์ นาคคงรับหน้าที่ประพันธ์เพลง

ปีพ.ศ. 2552

- Ghost Dance นาฏลีลาแนวทดลอง Ghosts in Asia แสดงเดี่ยวโดยภัทราวดี มีชูธน กํากับโดย Danny Yuang ใน โครงการจัดตั้ง หัวข้อ Book of Ghost เทศกาลศิลปะนานาชาติฮ่องกงครั้งที่ 37 Hongkong Art Festival 2009 ณ Drama Art Theatre HKAPA วันที่ 13-15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 อานันท์ นาคคงออกแบบเสียง

- 2552-53 ร.รัก ล.ลิลิต ลิลิตพระลอละครซ้อนละคร ตีความจากลิลิตพระลอ แสดงโดยคณะภัทราวดีเธียเตอร์ ร่วมกับนักไวโอลินชาวอเมริกัน

ไคล์น ดีลลิงแฮม กํากับการแสดงโดยภัทราวดี มีชูธน แสดงที่โรงละครภัทราวดีเธียร์เตอร์และวิกหัวหิน สนับสนุนโดยสํานักศิลปะร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม อานันท์ นาคคงร่วมประพันธ์เพลงและเรียบเรียงดนตรีร่วมกับ ดร.อโณทัย นิติพน

- ยักษ์ตัวแดง ลิเกร่วมสมัย ดัดแปลงจากบทประพันธ์เรื่อง Akaoni (Red Demon) ของฮิเดกิ โนดะ แสดงโดยคณะมะขามป้อม กํากับการแสดงโดย ประดิษฐ์ ประสาททอง แสดงในเทศกาลละครกรุงเทพ 2552, หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน และที่ประเทศญี่ปุ่น ในโครงการ “Mekong Festival 2009” เพื่อเฉลิมฉลองปีแห่งการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศในลุ่มน้ําแม่โขงและประเทศญี่ปุ่น (Mekong-Japan Exchange Year 2009) สนับสนุนโดยมูลนิธิสือชาวบ้าน เครือข่ายละครกรุงเทพ Tokyo Metropolitan Art Space อานันท์ นาคคง ร่วมออกแบบงานดนตรีลิเก

 

ปีพ.ศ. 2553

- The Four Puppets ละครหุ่นร่วมสมัย จากนิทานพื้นบ้านของ Khin Myo Chit ผสมผสานศิลปะการเชิดหุ่นสายแบบพม่า, หุ่น กระดาษ paper mache ร่วมกํากับการแสดงโดย Htwe Oo (Myanmar Puppet Theater, Myanmar), Amy Trompetter (Redwing Blackbird, USA) และธีรวัฒน์ มุลวิไล (B Floor, Thailand) อํานวยการผลิตโดย Manuel Lutgenhorst (Germany) แสดง ณ ศูนย์ศิลป์ Empty Space เชียงใหม่ โรงเรียนรุ่งอรุณ หอศิลป์ กรุงเทพมหานคร สถาบันดนตรีคีตมิตร ประเทศพม่า และในเทศกาล Contemporary Theatre Festival 2010 ณ สถาบันวัฒนธรรมฝรั่งเศสประจําประเทศพม่า Alliance Francaise กรุงย่างกุ้ง อานันท์ นาคคงทำหน้าที่ออกแบบเสียง และร่วมประพันธ์เพลงกับ Parami Shoon

- Untitled Lear ละครเวทีร่วมสมัย ดัดแปลงจากบทประพันธ์ King Lear ของวิลเลียม เชคสเปียร์ นําแสดงโดย Ralph Cotterill (UK) กํากับการแสดงโดย Ruth Ponstaphone (USA-Thai) แสดงในเทศกาล Contemporary Theatre Festival 2010 ณ สถาบันวัฒนธรรมฝรั่งเศสประจําประเทศพม่า Alliance Francaise กรุงย่างกุ้ง อานันท์ออกแบบเสียง และร่วมประพันธ์เพลงกับประสาร วงศ์วิโรจน์รักษ์

- Lao Panได้รับเชิญจากวงเชมเบอร์ออร์เคสตราร่วมสมัยของสิงคโปร์ The Teng Company เข้าร่วมโครงการ สร้างสรรค์ผลงานเพลง (Commissioned Composition) ประพันธ์เพลงและเรียบเรียงเสียงประสานเพลง"ลาว แพน” สําหรับเครื่องดนตรี พิณผีผา แคนเซิง เชลโล กีตาร์ และฉิง แสดงครั้งแรกในงานเทศกาล the National University of Singapore's Arts Festival 2010 มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ มีนาคม ปีพ.ศ. 2553 อานันท์ นาคคง ประพันธ์เพลงและเรียบเรียงดนตรี

- ฝันกลางไฟ ละครชาตรีร่วมสมัย โครงการสื่อพื้นบ้านเพื่อสะท้อนปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง แสดง โดยคณะละครมะขามป้อม กํากับการแสดงโดยประดิษฐ์ ปราสาททอง ประพันธ์เพลงและเรียบเรียงดนตรีโดย อานันท์ นาคคง

- Dead Voices, Dead Noises Sound exhibition เสียงความตาย เสียงความกลัว สัญญะแห่งวิญญาน-ผี ตีความใหม่ด้วยการจัดองค์ ประกอบของความรู้เชิงมานุษยวิทยาดนตรีและความรู้ด้านการประพันธ์-การออกแบบเสียง เสนอเป็นธีมหลักของ นิทรรศการ “ความกลัว จัดการได้ ด้วยจินตนาการสร้างสรรค์” (Spirits: Creativity from Beyond) ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC ห้างสรรพสินค้าเอมโพเรียม ประพันธ์เพลงและออกแบบเสียงโดยอานันท์ นาคคง

- Under, After, and In Between งานสื่อผสม ละครเงา-ละครใบ้-ดนตรีด้นสด-ออกแบบแสง-ศิลปะจัดวาง โครงการศิลปะชุมชน Artists Working in Communities ทดลองสร้างงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายศิลปินไทย-พม่า-อินโดนีเซีย หัวข้อโครงการ คือ Under After and In Between ได้เกิดละครย่อย 3 เรื่อง คือ The god don't bless (กลุ่มคนหน้าดําและ มะขามป้อม ประเทศไทย) Who and Why? (กลุ่ม Art Traveller พม่า) Timun Emas (กลุ่ม Taring Padi อินโดนีเซีย) แสดงที่ Empty Space เชียงใหม่และในพิธีปิดงานเทศกาลละครกรุงเทพ 2553 (Bangkok Theatre Festival 2010) สวนสันติไชยปราการ บางลําพู อํานวยการโครงการโดย Manuel Lutgenhorst สนับสนุนโดย Gothe Institute Jakarta uns Open Society Institute โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนในการพัฒนางานต่อเนื่องที่ประเทศอินโดนีเซีย ปีพ.ศ. 2555 ประพันธ์เพลงและเรียบเรียงดนตรี

ปีพ.ศ. 2554

- ร่ายพระลอ งานศิลปะสื่อผสม บทกวี-นาฏลีลา-ดนตรีร่วมสมัย-ละครหน้ากาก-วิดีโอวอลล์ จากวรรณกรรมเรื่องพระลอ แสดงโดยภัทราวดีเธียร์เตอร์ ในการแสดงเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไทยในภาคพื้นสหรัฐอเมริกา และแคนาดา (San Fancisco, Houston, Chicago, Washington DC, New York, Toronto) สนับสนุนโดยการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย กํากับการแสดงโดยภัทราวดี มีชูธน เรียบเรียงดนตรีโดยอานันท์ นาคคง

- The Marriage of Prince Suthon and Princess Manorah ละครชาตรีร่วมสมัยและละครหน้ากาก ตั้งคําถามกับสภาะสมรสข้ามเผ่าพันธ์ุและมายาคติว่าด้วย บทบาทหน้าที่สามีภรรยา กํากับการแสดงโดยอานันท์ นาคคง แสดงในงานมหกรรมวัฒนธรรมเอเชีย-แปซิฟิก เมืองเจอองจู ประเทศเกาหลีใต้ (The Asia-Pacific Intangible Cultural Heritage Festival 2011) ร่วมกับศิลปินจากเกาหลี-กัมพูชา-เวียดนาม-ไต้หวัน หัวข้อของการแสดงคือ Marriage&Wedding โดยวงดนตรีกอไผ่เป็นตัวแทนประเทศไทย อานันท์ นาคคงทำหน้าที่เรียบเรียงบท เรียบเรียงดนตรี และกำกับการแสดง

- Puppets beyond Borders งานสื่อผสม ละครหุ่นนานาชาติ-ออกแบบแสง โครงการศิลปะชุมชน Artists working in Communities ทดลองสร้างงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายศิลปินไทย-พม่า-กัมพูชา-เยอรมัน-ฝรั่งเศส หัวข้อโครงการคือ Puppet beyond Borders เกิดละครหุ่นสร้างสรรค์ 5 เรื่อง แสดงที่ Empty Space เชียงใหม่ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โรงละครของราชวิทยาลัยวิจิตรศิลป์ กรุงพนมเปญ และ สถาบันวัฒนธรรมฝรั่งเศสประจํา ประเทศพม่า Alliance Francaise กรุงย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า อํานวยการโครงการโดย Manuel Lutgenhorst สนับสนุนโดย Gothe Institute Jakarta และ Alience Francaise
ผลงานหนึ่งในงานละครหุ่นเงาจากกลุ่มประเทศไทยที่สร้างขึ้นครั้งนี้ เรื่อง “Nest, Cage, no where to Rest" เขียนบทและประพันธ์ดนตรีโดยอานันท์ นาคคง ได้รับคัดเลือกจากสถาบันศิลปะฝรั่งเศส The French Institut ณ กรุงปารีส ให้พัฒนางานขึ้นต่อเนื่องร่วมกันระหว่าง Thailand Empty Space และคณะละครเงา Les Remouleur เพื่อแสดงในงานมหกรรมหุ่นโลกปีพ.ศ. 2557

 

ปีพ.ศ. 2555

- Somebody การแสดงศิลปะเชิงสร้างสรรค์ เทศกาลเฟียว FIAO 2011 ณ โรงละครนครินทร์เธียร์เตอร์ ได้รับทุน สนับสนุนการสร้างสรรค์ศิลปะข้ามสายพันธุ์จากการคัดเลือกของคณะกรรมการพิจารณาประกวดทุนเฟียว (ทุนพื้นที่-อุปกรณ์-ทุนการผลิต-ทุนปัญญา) งานที่เสนอคือ Somebody เป็นการสร้างสรรค์งานร่วมระหว่างศิลปินนักกายกรรมแนว Aerial Acrobatic ราชนิกร แก้วดี กับนักออกแบบเสียง อานันท์ นาคคง โดยการตีความหนังสือ The Origin of Species ของ Charles Darwin (1859) ทําการแสดงไปเมื่อวันที่ 3-4 มีนาคม ปีพ.ศ. 2555 อีกทั้งอานันท์ นาคคงยังรับหน้าที่เป็นนักแสดงอีกด้วย

- วิวาห์พระสมุทร ตีความใหม่จากบทละครพูดสลับลํา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องวิวาห์พระสมุทร กํากับการแสดงโดยภัทราวดี มีชูธน แสดง ณ โรงละครวิกหัวหิน ตลอดเดือนธันวาคม ปีพ.ศ. 2555 อานันท์ ทำหน้าที่ การประพันธ์เพลง ออกแบบเสียง

การคัดเลือกนักร้อง-นักเต้น-นักแสดง ทดลองสร้างงานดนตรีจากพื้นฐาน ของดนตรีแจ๊สร็อค ทดลองสร้างกลุ่มคอรัสเยาวชน

 

ละครเรื่อง วิวาห์พระสมุทร (2555)

- Under, After, and In Between งานสื่อผสม การเล่านิทาน-ละครเงา-ละครใบ้-ละครหน้ากาก-ดนตรีด้นสด-ออกแบบแสง-ศิลปะจัดวาง โดยมีแนวคิดเกี่ยวกับศิลปะชุมชน Artists working in Communities ทดลองสร้างงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายศิลปินไทย-พม่า-อินโดนีเซีย-อเมริกัน กับชนพื้นเมืองในอินโดนีเซียที่ถูกผลกระทบจากการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนโดย Gothe Institute Jakarta และ Open Society Institute ในการพัฒนางานต่อเนื่องจากโครงการเดิมเมื่อปีพ.ศ. 2553 จัดงานที่เมือง ยอร์คยา-ภูเขาโปรโกประเทศอินโดนีเซีย วันที่ 7-23 กันยายน ปีพ.ศ. 2555 อํานวยการโครงการโดย Manuel Lutgenhorst งานนี้มีการถ่ายทอดสด live broadcasting ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอินโดนีเซีย-ไทย-เกาหลี-อเมริกา-เยอรมัน และลิงค์เสียงวิทยุชุมชนในพื้นที่ที่ปฏิบัติการตลอดเวลา ประพันธ์เพลงและเรียบเรียงดนตรีอานันท์ นาคคง

 

ปีพ.ศ. 2556 Rocking Rama ตีความใหม่จากบทวรรณกรรมรามายณะของวาลมิกิ โดยบทละครเป็นภาษาอังกฤษทั้งเรื่อง กํากับการ แสดงโดยภัทราวดี มีชูธน แสดง ณ โรงละครวิกหัวหิน ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ปีพ.ศ. 2557 อานันท์ประพันธ์เพลงและเรียบเรียงดนตรี โดยใช้วงดนตรีปี่พาทย์ วงดนตรีร็อค พังค์ นักร้องประสานเสียง และการออกแบบเสียง

 Rocking Rama (2556)

ปีพ.ศ. 2557

- Elephant and Ant งานสื่อผสมทางดนตรีและการเล่านิทาน โครงการดนตรีกับชุมชน Music and Community จัดโดย มหาวิทยาลัยศิลปากรโตเกียว Tokyo Geidai ทุนจากมูลนิธิญี่ปุ่น Japan Foundation แสดงที่กรุงโตเกียว ร่วมกับ ชุมชน Dejare 15-18 มีนาคม 2557 อานันท์ นาคคงรับหน้าที่ในการประพันธ์เพลงและผู้อำนวยการดนตรี

Super-Fisherman เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ปีพ.ศ. 2557 ในงานมหกรรมศิลปะชุมชน ได้รับทุนจากมูลนิธิญี่ปุ่น Japan Foundation เป็นหนึ่งในสามนักประพันธ์เพลง (Makoto Nomura, Memat Slamat, Anant Narkkong) ออกแบบการแสดงดนตรีกับศิลปินและประชาชน ในเขตพื้นที่เซ็นจู จํานวน 1,010 คน แสดงที่ตลาดปลาอะตาจิ กรุงโตเกียว โดยออกแบบการแสดงเป็น A Chaotic Music Theatre for Giant Puppets & Noise Parade & Story Telling & Piphat and Dajare MultiMusical instruments to be performed by 1,010 people of Senju Community at Adachi Shijyo Fish Market, Tokyo on Oct12, 2014 อานันท์ นาคคงประพันธ์เพลงและผู้อำนวยการดนตรี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ปีพ.ศ. 2558 ฉุยฉายเซลฟี บทเพลงนาฏศิลป์ร่วมสมัย ร่วมออกแบบท่ารําโดย อ.ธรรมจักร พรหมพ้วย เนื้อหาสะท้อนปรากฏการณ์ สังคมโซเชียลมีเดีย ความลุ่มหลงตัวตนกับการถ่ายภาพแนวเซลฟีผ่านโทรศัพท์มือถือ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ภาพลักษณ์ใหม่ของบุคคลในพื้นที่เฟสบุค อินสตราแกรม ด้วยภาพ เรือนร่าง สํานวนภาษาใหม่ นําเสนอครั้งแรกในรายการดนตรีกวีศิลป์ เดือนตุลาคม ปีพ.ศ. 2558 ประพันธ์เพลงและ Conceptualization โดยอานันท์ นาคคง

 

bottom of page